Last updated: 18 มี.ค. 2563 | 19475 จำนวนผู้เข้าชม |
หลายท่านที่อยากจะทาพื้น เพื่อความสวยงาม หรือเน้นการใช้งานนั้น แน่นอนว่าต้องเลือกสีที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่ต้องทนต่อสภาพวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด ฝนตก คราบตะไคร่น้ำ ทนต่อการถลอก และสีต้องมีการยึดเกาะที่ดี การที่จะทาสีนั้น ต้องคำนึกถึง ปริมาณพื้นที่จะทา ต้นทุน รวมถึงความทนทานในการใช้งาน ดังนั้นเราต้องเลือกประเภทสีที่ตรงกับการใช้งานโดยเราจะเรียงลำดับคุณภาพและความเหมาะสมกับการทาพื้นเพื่อช่วยให้คุณได้ตัดสินใจในการเลือกประเภทสีที่จะทาพื้นให้เหมาะกับคุณมากที่สุด
1. สีทาหลังคา และพื้นอเนกประสงค์ ( Multi Purpose Roof Paint)
สีทาหลังคาผลิตจากอะครีลิคแท้ 100% คุณภาพสูง ให้การยึดเกาะสูง มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ (Polymer) จำพวก อะครีลิค (Acrylic) หรือ ไวนิล (Vinyl) มีแต่มีคุณสมบัติใช้ทาพื้นปูน-คอนกรีตได้ด้วย อิฐตัวหนอน พื้นสนามกีฬาตามโรงเรียน หรือพื้นโรงงาน ทาง่าย แห้งไว ฟิล์มสีเหลือบเงา(เงาเล็กน้อย) ราคาประหยัด มีหลากหลายเฉดสี
รูปภาพจาก : advanceroofing-fl
2. สีทาถนน (Road Line and Traffic Paint)
เป็นสีน้ำมันอะครีลิคสังเคราะห์พิเศษ นิยมใช้ทาแนว- เส้นจราจร หรือเครื่องหมายจราจร ให้การยึดเกาะดี ทนต่อการขัด/เสียดสีดี แห้งไว แต่มีเฉดสีให้เลือกเพียง ขาว ดำ เหลือง และแดง เท่านั้น ฟิล์มสีกึ่งเงาราคาสูงกว่าชนิดแรกแต่ไม่แพงเท่าสีระบบ PU หรือ Epoxy
รูปภาพจาก : indiamart
3.สีเคลือบโพลียูรีเทน (Polyurethane)
เป็นสีชนิดพิเศษ ประเภท 2K จะประกอบด้วย Part A และ B (ผสมกันก่อนใช้งาน) สีชนิดนี้ควรรองพื้นด้วย "สีเคลือบเงา อีพ๊อกซี่ ชนิดใส" ก่อน 1 เที่ยว (เพื่อประสิทธิภาพการยึดเกาะสูงสุด) และทาทับหน้าด้วยสีเคลือบยูรีเทนอีก 2 เที่ยว สีชนิดนี้ ทนต่อการเหยียบย่ำ ขัดถู/เสียดสี และสารเคมี(น้ำมันเครื่อง/น้ำมันเบรค ฯลฯ)ได้ดีเยี่ยม ฟิล์มสีเงามัน ราคาค่อนข้างสูง
รูปภาพจาก : decorexpro
4.สี Epoxy
สีอีพ็อกซี่เป็นสีที่เหมาะกับงานภายในหรือบริเวณที่แสง U.V.สาดส่องไม่ถึง เนื่องจากอีพ็อกซี่เรซิ่นในสีจะเสื่อมสภาพได้เร็วเมื่อฟิล์มสีถูกแสง U.V. สีอีพ็อกซี่ที่มีจำหน่ายทั่วไปจะทำเป็นสองส่วนคือ ส่วน A (Base) และส่วน B (Hardener) ซึ่งจะสะดวกต่อการจัดเก็บในระยะเวลานานๆ การใช้งานต้องผสมส่วน A และส่วน B ใน อัตราส่วนที่ถูกต้อง และต้องกวนสีให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้งาน เพื่อให้การแห้งตัวของสีเคลือบพื้นเป็นไปที่กำหนด อย่างไรก็ตาม สีอีพ็อกซี่จะแห้งด้วยปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Reaction) จึงต้องใช้สีให้หมดภายในเวลาที่กำหนดไว้
รูปภาพจาก : kusscontrol
13 ก.ย. 2564
14 ก.ย. 2564